คลองผดุง หรือคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองเส้นสําคัญตั้งแต่สมัย ร.4 ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกละเลย เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เมื่อมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เกิดขึ้น ทำให้ที่ริมคลองแห่งนี้กำลังจะมีบทบาทใหม่ เป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่เมืองและผู้คนได้กลับมาใช้อย่างเสรีเต็มที่
คลองผดุง มติเอกฉันท์ชาวโซเชียล ให้ปรับปรุงภูมิทัศน์
คลองผดุง หรือคลองผดุงกรุงเกษม ที่คนเมืองโหวตอยากเห็นคลองถูกปรับปรุงให้สวยงาม เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หลังเตรียมทำแผนขอคืนพื้นที่สาธารณะ จากกลุ่มผู้ค้าแผงลอย ริมคลองผดุงกรุงเกษม โบ๊เบ๊ มหานาค สะพานขาว เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.66 เป็นต้นไป
จากการที่ สำนักงานเขตป้อมปราบฯ ได้เตรียมทำแผนขอคืนพื้นที่สาธารณะ จากกลุ่มผู้ค้าแผงลอย ริมคลองผดุงกรุงเกษม โบ๊เบ๊ มหานาค สะพานขาว เบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2566 เป็นต้นไป เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นย่านสร้างสรรค์ มีกิจกรรม วิถีชีวิต และส่งเสริมการท่องเที่ยว
สำนักการโยธาได้งบประมาณปรับปรุงพื้นที่ทางเดิน ถนนกรุงเกษมตลอดแนวจากหัวลำโพง ถึงเทเวศร์ และจะแล้วเสร็จส่งมอบงานให้สำนักงานเขตพื้นที่กลางปีนี้ ทั้งนี้ ทางสำนักงานเขตได้เปิดโหวตผ่าน เฟซบุ๊กของ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย Pomprapsattruphai district office โดยให้
พิมพ์ 1 คลองผดุงที่ สวยงาม เดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ มีชีวิตชีวา กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ open space
พิมพ์ 2 ตลาดนัดเสื้อผ้าเก่าแก่ ขายของในที่สาธารณะ
ปรากฎว่า มีผู้มาแสดงความเห็นและลงมติเป็นจำนวนมากโดยเสียงส่วนใหญ่พิมพ์ 1 ต้องการให้ปรับปรุงภูมิทัศน์
ฟื้นเมืองเชื่อมย่าน สานอนาคต
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีคลองนับพันเส้น เมื่อเมืองพัฒนาคลองหนึ่งในสาธารณูปโภคซึ่งใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพกลายเป็นที่ระบายน้ำเสียและรองรับน้ำฝน
ในวันที่โลกหมุนไปข้างหน้า การพลิกฟื้นคลองระบายน้ำให้กลับมาเป็นคลองระบบธรรมชาติ และใช้คลองช่วยให้พื้นที่มีชีวิต เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคน คลอง เมือง อย่างที่ควรจะเป็น บนความเป็นไปได้ใหม่ๆ จึงน่าสนใจมาก
ติดตามโปรเจกต์ที่กรุงเทพมหานคร ริเริ่มพัฒนาเมืองบนฐานความคิด ‘Regenerative Bangkok : ฟื้นเมืองเชื่อมย่าน สานอนาคต’ ซึ่งเน้นเรื่องการจัดการน้ำ โครงข่ายคลอง ถนน ทางเท้า พื้นที่สีเขียว โดยมี 5 โครงการนำร่อง ได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม ถนนพระราม 1 ถนนสีลม สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี และสวนลุมพินีกับสะพานเขียว มาหลักปี นี่เป็นอีกครั้งที่เราจะได้เห็นหนึ่งใน 5 โครงการนี้เป็นรูปเป็นร่างและเข้าไปใช้งานได้จริง
คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองเส้นสําคัญตั้งแต่สมัย ร.4 ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกละเลย เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เมื่อมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เกิดขึ้น ทำให้ที่ริมคลองแห่งนี้กำลังจะมีบทบาทใหม่ เป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่เมืองและผู้คนได้กลับมาใช้อย่างเสรีเต็มที่
ในขณะที่ปัญหาเรื่องการกลายเป็นที่จอดรถ มีซอกหลืบเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ถูกขจัดด้วยการการรวบแนวเลนจอดรถ (Pocket Lane) ที่มีอยู่ในบางช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อลดกิจกรรมส่วนบุคคลบางอย่างที่ก่อให้เกิดมุมอับ สร้างความสกปรก และกีดขวางการใช้งาน สำหรับอิสระชนที่เคยอยู่ เคยนอนตรงนั้น ท่านผู้ว่าฯ ก็เล่าให้ฟังว่า ได้เข้าไปทำความเข้าใจ รวมถึงจัดหาที่พักพิงให้
ส่วนที่เชื่อมต่อกับแหล่งชุมชน มีการปรับปรุงทางลาดที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ และเพิ่มจุดทางข้ามทางม้าลาย รวมถึงทำทางเดินลอดใต้สะพานกษัตริย์ศึก มีทางเดินข้ามไปฝั่งโบ๊เบ๊ได้ ช่วยเชื่อมคนเข้ากับคลองได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น
เชื่อมพื้นที่ เชื่อมประวัติศาสตร์
ในอดีต คลองผดุงกรุงเกษมขุดสร้างขึ้นเพื่อการขยายเมืองชั้นที่ 3 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เชื่อมจากย่านค้าขายปากคลองเทเวศร์ หัวลำโพง ไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฟาก รวมถึงเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งสินค้า เกิดถนนเส้นสำคัญ กลายเป็นย่านเศรษฐกิจและการเมืองที่มีทั้งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในตัวเอง เช่น นางเลิ้ง เยาวราช สี่พระยา
ปัจจุบันยังเป็นคลองกลางเมืองที่เชื่อมต่อ ล้อ-ราง-เรือ ได้ (การสัญจรทางรถ รถไฟฟ้า และเรือโดยสาร) แต่พื้นที่รองรับการเดินเท้ากลับไม่เอื้อต่อการสัญจร อีกทั้งยังไม่มีทางจักรยานที่เอื้อต่อการสร้างโครงข่ายเส้นทางจักรยาน และยังคล้ายเป็นคลองที่ถูกลืม แม้ว่ามีชุมชนตลอดจนบริบทของพื้นที่ที่น่าสนใจ
“วิถีชีวิตของคนกับคลองผูกพันกันมาตั้งแต่อดีต ใช้สัญจร ติดต่อค้าขาย กรุงเทพฯ มีคลองอยู่ 1,682 คลอง เมื่อการเดินทางทางบกเจริญขึ้น ชีวิตคนกับน้ำก็เริ่มเลือนหายไป ผมอยากฟื้นวิถีชีวิตริมคลองขึ้นมา และช่วยระบายการจราจร รถติดปุ๊บ ลงเรือ ไปขึ้นรถไฟฟ้า ด้วยระบบ ล้อ-ราง-เรือ” ผู้ว่าฯ อัศวิน เกริ่นถึงแนวคิดของโครงการ
การจะพลิกฟื้นเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาได้จึงต้องปรับพื้นที่ใหม่ทั้งหมด คลองที่ยาวกว่า 5.5 เมตร แบ่งเป็น 6 โซน เพื่อดําเนินงานเป็นช่วงๆ โดยอิงตามแนวถนนหลักสําคัญที่ตัดผ่านแนวคลอง และอิงกับย่านต่างๆ ที่สัมพันธ์กับคลองผดุงกรุงเกษม
ช่วงที่ 1 ย่านตลาดน้อย-เจริญกรุง ความยาวประมาณ 680 เมตร ช่วงที่ 2 ย่านหัวลําโพง 1,250 เมตร ช่วงที่ 3 ย่านโบ๊เบ๊ 650 เมตร ช่วงที่ 4 ย่านนางเลิ้ง 1,000 เมตร ช่วงที่ 5 ย่านสถานที่ราชการ 700 เมตร และช่วงที่ 6 ย่านเทเวศร์ ราว 700 เมตร
ช่วงแรกที่มีการปรับภูมิทัศน์นี้ เป็นช่วงที่ 2 ย่านหัวลำโพง จากสะพานเจริญสวัสดิ์ ถึงสะพานกษัตริย์ศึก และการมองคลองในหลายมิติ ทั้งการเป็นพื้นที่สาธารณะ ประวัติศาสตร์เชื่อมโยงเมือง แหล่งชุมชน และเชิงนิเวศวิทยาคลอง (Ecology) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดพัฒนาและการจัดการพื้นที่เชิงกายภาพอย่างไร้รอยต่อ
ประวัติคลองผดุง
คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นนอก (ชั้นที่สาม) ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุง ควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดถัดจากคลองรอบกรุงออกไปทางชานพระนคร เริ่มขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพง ตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา คลองนี้ขุดเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ได้รับพระราชทานชื่อว่า “คลองผดุงกรุงเกษม”
คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาค ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่านวัดมหาพฤฒาราม (เดิมเรียกว่า วัดท่าเกวียน) ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตร การขยายครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 5,552 ไร่ (8.883 ตารางกิโลเมตร; 3.430 ตารางไมล์)
คลองผดุงเป็นเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตหลายเขตในฝั่งพระนคร ดังนี้
- แบ่งเขตสัมพันธวงศ์กับเขตบางรัก ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งใต้จนถึงสะพานเจริญสวัสดิ์
- แบ่งเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกับเขตปทุมวัน ตั้งแต่สะพานเจริญสวัสดิ์จนถึงคลองแสนแสบ
- แบ่งเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกับเขตดุสิต ตั้งแต่คลองแสนแสบจนถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์
- แบ่งเขตพระนครกับเขตดุสิต ตั้งแต่สะพานมัฆวานรังสรรค์จนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเหนือ
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมระหว่างโรงเรียนเทพศิรินทร์ไปยังสถานีรถไฟหัวลำโพง (สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7)
ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนจากเมืองพระนครมาทางฝั่งตะวันออกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดวัดขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชนเพิ่มตามขึ้นมาเช่นวัดพระพิเรนทร์ วัดชัยชนะสงคราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดกันมาตุยาราม วัดสัมพันธวงศ์ วัดปทุมคงคา วัดใหม่ยายแฟง วัดคณิกาผล วัดพลับพลาไชย เป็นต้น เมื่อมีการขุดคลองเมืองพระนครชั้นนอกคือคลองผดุง-กรุงเกษมขึ้นมานั้น ได้ทำให้วัดต่างๆ ดังกล่าวนี้เข้ามาอยู่ภายในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้คล้องจองกันทั้งหมด
- สะพานเทเวศรนฤมิตร – อยู่บนถนนสามเสน บริเวณใกล้ทางแยกเทเวศร์ เป็นย่านการค้าเก่า
- สะพานวิศุกรรมนฤมาน – อยู่ระหว่างถนนประชาธิปไตยกับถนนนครราชสีมา ตรงทางแยกประชาเกษม (ทางแยกเมล์แดง) ใกล้เคียงกับคุรุสภาและวัดมกุฏกษัตริยาราม
- สะพานมัฆวานรังสรรค์ – อยู่บนถนนราชดำเนินนอก บริเวณทางแยกมัฆวาน สถานที่สำคัญได้แก่ ที่ทำการองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ และทำเนียบรัฐบาล
- สะพานเทวกรรมรังรักษ์ – อยู่บนถนนนครสวรรค์ บริเวณทางแยกเทวกรรม ย่านนางเลิ้งเป็นชุมชนเก่าแก่ อยู่ใกล้วัดโสมนัสวิหารและทำเนียบรัฐบาล
- สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ หรือ “สะพานขาว” อยู่บนถนนหลานหลวง ทางแยกสะพานขาว ใกล้กับตลาดมหานาค
สะพานอื่นๆ ที่ไม่ได้สร้างในสมัยนั้น และไม่ได้มีชื่อคล้องจอง
- สะพานพิทยเสถียร อยู่บนถนนเจริญกรุง
- สะพานกษัตริย์ศึก (สะพานยศเส) อยู่บนถนนพระรามที่ 1
- สะพานเจริญสวัสดิ์ อยู่บนถนนพระรามที่ 4
โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษมยังดำเนินการต่อในระยะอื่นๆ และพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ท่านผู้ว่าฯ กล่าวว่า “ในอนาคตเราจะปรับปรุงทุกคลองใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ และวางแผนไว้ว่าอยากทำให้ได้มากและดีที่สุด ตรงไหนที่พี่น้องประชาชนเห็นว่าต้องปรับปรุงแก้ไข เรายินดีรับฟังข้อแนะนำต่างๆ เพื่อนำไปแก้ไขให้เป็นที่พึงพอใจ ติเพื่อก่อ บอกมาได้เลยทุกอย่าง เราจะสานต่อให้”
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม
- สายมู ทั้งไทยและต่างชาติแห่เจิมฝ่ามือ “นะเศรษฐี” วัดใหม่สี่หมื่น
- รถยนต์ไฟฟ้า สาวโพสเล่าเรื่องสุดช้ำ ซื้อมาจดทะเบียนไม่ได้
- บุหรี่ไฟฟ้า มีสารเสพติดพบกลุ่มเด็กเยาวชนสูบมากขึ้น
- ผู้ว่าฯหมูป่า เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็ง
ที่มาของบทความ
- https://www.thaipbs.or.th
- https://readthecloud.co
- https://th.wikipedia.org
- https://mgronline.com
- https://www.bangkokbiznews.com
ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่ anilta.net
สนับสนุนโดย ufabet369